วิถีชีวิตสู่การเปลี่ยนแปลง เมืองอยู่ดี คนมีสุข

นโยบายในการพัฒนาเทศบาลตำบลแม่หล่าย แบ่งเป็น 6 ด้าน ดังนี้
    1. ครอบครัวเป็นสุขปลอดภัย พัฒนาเมืองน่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่ เพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับคุณภาพโครงสร้างพื้นฐาน
        1.1 ขยายเขตไฟฟ้าและไฟฟ้าสาธารณะให้ทั่วถึงครอบคลุมทุกหมู่บ้าน/ชุมชน ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค บริการสาธารณะและสภาพแวดล้อมให้มีสุขลักษณะมีความสะดวกสบายเป็นระเบียบสวยงาม รวมทั้งการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน ความปลอดภัยของประชาชน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการผังเมือง
        1.2 ชุมชนปลอดภัยโดยการส่งเสริมบทบาท อปพร. และอาสาสมัครต่างๆ ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาช่วยเหลือบรรเทาอุบัติภัยต่างๆ และการรักษาความปลอดภัยในหมู่บ้าน/ชุมชน
        1.3 พัฒนาแหล่งน้ำให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวควบคู่ไปกับการเกษตร
        1.4 พัฒนาอาคารสำนักงานให้พร้อมบริการอย่างมีประสิทธิภาพสะดวกรวดเร็วและประทับใจ ควบคู่ไปกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อันได้แก่การพัฒนาทักษะ การเสริมสร้างทัศนคติและอุดมคติที่ถูกต้อง เพื่อพัฒนาตนเองและสังคม รวมถึงการพัฒนาในเชิงกลยุทธ์ ให้มีความโดดเด่นสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ขององค์กร พร้อมกับการเปลี่ยนแปลง
        1.5 ป้องกันและช่วยเหลือเด็กและผู้หญิงจากปัญหาความรุนแรงในครอบครัว โดยสนับสนุนการศึกษาแก่นักเรียนที่ยากจนได้มีโอกาสศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
    2. คุณภาพชีวิตดีขึ้น เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ความผูกพันเอื้ออาทรช่วยเหลือกันด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม
        2.1 ส่งเสริมการพัฒนาคนการคุ้มครองทางสังคมและการสงเคราะห์คนชรา ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสให้ครอบคลุมทั่วถึง เพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีสามารถอยู่ร่วมกับสังคมได้
        2.2 พัฒนาการศึกษาทั้งในระบบ และนอกระบบ รวมทั้งการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อพัฒนาศักยภาพและกระบวนการเรียนรู้ให้ได้มาตรฐานและสอดคล้องกับโครงสร้างการผลิตและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป
        2.3 พัฒนาศูนย์กีฬาตำบลเพื่อส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนได้ฝึกทักษะและพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ มีจิตใจเป็นนักกีฬา สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงให้เป็นพฤติกรรมที่เหมาะสม เป็นบุคคลที่มีคุณภาพมีบุคลิกภาพที่ดี เป็นกำลังสำคัญของชาติและท้องถิ่นต่อไป
        2.4 ส่งเสริมกิจกรรมผู้สูงอายุที่สร้างโอกาสการพบปะสังสรรค์ฟื้นฟูสุขภาพ และร่วมกิจกรรมตามความสนใจ
        2.5 ส่งเสริมกิจกรรมด้านดนตรี ศิลปวัฒนธรรม เพื่อสืบทอดและเสริมสร้างสุขภาพจิตที่ดี
    3. มุ่งเน้นสร้างความยุติธรรมโปร่งใสตรวจสอบได้ เสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีเหตุมีผลยึดมั่นในหลักปรัชญาทางการเมือง เพื่อให้เกิดสังคมที่พึงประสงค
        3.1 เคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
        3.2 ส่งเสริมยกย่องให้ทุกคนทำความดี
        3.3 ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยที่เน้นการมีส่วนร่วมและบทบาทของประชาชนให้มากที่สุด ด้วยความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ทำให้ประชาชน มีความรู้ความเข้าใจการเมือง ด้วยการอบรมกล่อมเกลาทางการเมือง
        3.4 ส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลโดยเปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของภาคประชาชน เพื่อมุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน เกิดความพึงพอใจและมีวิธีการจัดการที่ดีตามกระบวนการประชาธิปไตย เช่น การไกล่เกลี่ยประนีประนอม การทำประชาพิจารณ์ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาโดยรวมซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของการมองโลกของความเป็นจริง
        3.5 ส่งเสริมแนวคิด “ประชาสังคม” ที่ให้ประชาชนมีจิตสำนึกร่วมกัน ซึ่งแสดงถึงความร่วมมือกันโดยผ่านองค์กรที่หลากหลาย เพื่อร่วมรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะพลเมือง
    4. พัฒนาด้านเศรษฐกิจ ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมในการพัฒนากลุ่มอาชีพ ตามความต้องการของชุมชนทั้งอาชีพหลัก อาชีพรอง และอาชีพเสริม
        4.1 ส่งเสริมอาชีพให้แก่ประชาชนเพื่อเพิ่มรายได้ สามารถพึ่งตนเองได้
        4.2 ส่งเสริมการรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและกลุ่มอาชีพต่างๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพและศักยภาพให้ดียิ่งขึ้น
        4.3 ขยายเครือข่ายการตลาดให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
        4.4 พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร เกษตรกรรมปลอดสารพิษ เกษตรอินทรีย์และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างรากฐานของสังคมให้เข้มแข็ง
        4.5 ส่งเสริมแนวคิด ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ สนับสนุนทุน (โอกาส) และเสริมสร้างทฤษฎีใหม่ โดยการใช้เทคนิคในการให้การศึกษาแก่ชุมชนที่หลากหลายตามความเหมาะสม
    5. การบริหารจัดการด้านสุขภาพ โดยมุ่งหวังให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองด้านสุขภาพได้และมีสุขภาพดีถ้วนหน้า
        5.1 พัฒนาเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถและทักษะให้กับ อสม. กรรมการหมู่บ้าน/ชุมชน ผู้นำองค์กรชุมชน ประชาคม ประชาชนทั่วไป เด็กและเยาวชนรวมตลอดถึงผู้ด้อยโอกาสให้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวชุมชน และสังคม สามารถสื่อสารทางด้านสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
        5.2 เสริมสร้างจิตสำนึกการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านสาธารณสุขและการป้องกันแก้ไขปัญหาโรคติดต่อ โรคระบาด การรณรงค์ลดความเสี่ยงจากผู้ป่วยเรื้อรังโดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายและกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเสมอ
        5.3 ประสานและบูรณาการทำงานที่สอดคล้องเกื้อกูลผสมกลมกลืนกันทุกภาคส่วน เพื่อทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพสูงสุด
        5.4 สนับสนุนและเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชนให้มีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหา
        5.5 ส่งเสริมและปลูกฝังเยาวชนรักสุขภาพและห่างไกลยาเสพติด โดยใช้เทคนิคต่างๆ อย่างถูกต้องและเหมาะสม
        5.6 สนับสนุนและสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ทั้งในสถานประกอบการและชุมชน
    6. การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เอื้อต่อการใช้ประโยชน์ และการอนุรักษ์ฟื้นฟู ให้มีความอุดมสมบูรณ์รักษาสมดุล ดังนี้
        6.1 ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
        6.2 ฟื้นฟูทรัพยากรดินให้สามารถใช้ประโยชน์เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
        6.3 ส่งเสริมการอนุรักษ์และใช้พลังงานอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีพลังงานทดแทนในชุมชนอันนำไปสู่การพึ่งพาตนเองด้านพลังงาน
        6.4 พัฒนาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ สถานที่ท่องเที่ยวให้มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีความร่มรื่น เพื่อใช้จัดกิจกรรมของชุมชน
        6.5 ปรับปรุงภูมิทัศน์ และเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อลดมลภาวะทางอากาศและฟื้นฟูความสะอาดของแม่น้ำลำคลอง

 

 
Copyright 2011 -- Maelai Municipality. -- All rights reserved
เทศบาลตำบลแม่หล่าย เลขที่ 99 หมู่ 5 ตำบลแม่หล่าย อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 54000
โทรศัพท์: 0-5464-6842, 0-5465-2660-1

Email:
saraban@maelai.go.th